ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

หลักสูตรผู้นำการเปลี่ยนแปลงครอบครัว...ออกแบบการเลี้ยงลูกด้วยสติ

 


ขอต้อนรับทุกท่านเข้าสู่กระบวนการเรียนรู้ ในหลักสูตร 
       ‘ผู้นำการเปลี่ยนแปลงครอบครัว…ออกแบบการเลี้ยงลูกด้วยสติ’ 
Level 1 เข้าใจลูก 

เข้าร่วม Platform เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ Line@sdsfamily





เด็กเป็นอย่างไร โลกเป็นอย่างนั้น จึงอยากชวนกันมาสร้างโลกโดยผ่านเด็ก
ด้วยการส่งไม้ผลัดไปยังคนรุ่นต่อไป มาช่วยกันสร้างสังคมของการเลี้ยงลูก
อย่างที่ช่วยกันเลี้ยงแบบไม่มีลูกของฉัน ลูกของเธอ มีแต่ลูกของเรา
จนเกิดเป็นครอบครัวแห่งสติเพื่อสร้างสังคมที่อยู่เย็นเป็นสุข พ้นทุกข์ร่วมกัน
‘แม่ชีศันสนีย์ เสถียรสุต’

คำนำ

หลักสูตรผู้นำการเปลี่ยนแปลงครอบครัว...ออกแบบการเลี้ยงลูกด้วยสติ เป็นการออกแบบหลักสูตรบนพื้นฐานแนวคิดของคำว่าสังคมและการสร้างสังคม เราพบว่าเมื่อสังคมพัฒนามาเป็นสังคมในยุค disruption ประกอบกับสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงของสังคมที่เกิดจากเชื้อโรคเกิดใหม่ ไม่ว่าจะเป็นโควิด 19 หรือโรคระบาดอื่นๆ และรวมถึงการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี เกิดเป็นปัจจัยเสริมที่ทำให้การเลี้ยงลูกมีประเด็นปัญหาเกี่ยวข้องในเชิงสังคมมากขึ้น โดยดูจากนิยามของคำว่า Social organization ที่ให้คำนิยามของสังคมว่า องค์การสังคมหมายถึงกลุ่มคนประเภทต่างๆ ที่ปรากฏอยู่ในสังคมหนึ่งๆ โดยทั่วไปถ้าไม่นับตัวสังคมเองจะมีองค์การสังคม 5 ประเภท 
1. กลุ่มสังคม Social group  
2. ครอบครัว family   
3. ชุมชน Community  
4. สหจร association  
5. ชนชั้น social class  

แต่สิ่งที่สร้างลูกสนใจเพราะเกี่ยวข้องการกับดูแลลูกคือประเด็นของการสร้างสังคมในแง่ของการสร้างครอบครัว ชุมชน และสหจร นั่นหมายความว่าถ้าเราพัฒนาคนที่อยู่ในกลุ่มครอบครัว ชุมชนและในสหจรให้ได้รับการดูแล ให้องค์ความรู้และพัฒนาทักษะของการเป็นพ่อแม่ จะทำให้เกิดพลังของการขับเคลื่อนและเปลี่ยนแปลงให้เกิดการเลี้ยงลูกด้วยสติในกลุ่มเริ่มต้น ทำให้เด็กได้รับการดูให้เติบโตอย่างปลอดภัยและสามารถพัฒนาตนเองได้เต็มตามศักยภาพ

วัตถุประสงค์ของหลักสูตร
1. ทำให้ผู้เรียนเกิด Empathy ความสามารถในการเข้าใจ สามารถรับรู้และตอบสนองต่ออารมณ์ของผู้อื่น 
2. ทำให้ผู้เรียนเข้าในเรื่องการสร้าง Teamwork ในระดับครอบครัว 
3. ทำให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาศักยภาพในด้านความเป็น spiritual Leadership ของครอบครัวได้
4. ทำให้ผู้เรียนมี Creative Problem Solving การแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ ความสามารถในการเอาชนะปัญหาโดยการวางแผนที่
ชัดเจนและมีผลลัพธ์ที่วัดผลได้ 
5. ทำให้ผู้เรียน มีสติ
6. ผู้เรียนสามารถออกแบบและสร้าง Daily Living Skill ได้
7. ผู้เรียนเข้าใจเรื่อง Life skill และสามารถนำมาใช้กับลูกได้  
8. ผู้เรียนเข้าใจเรื่อง Literacy skill และสามารถสร้างทักษะนี้ให้กับคนในครอบครัวได้ 

level 1 เข้าใจลูก 
ใน level นี้เป็นการสร้างพื้นฐานของความรู้จักสิ่งที่เราจะเข้าไปพัฒนา หัวใจของการทำงานครอบครัวในกลุ่มสร้างลูกคือการพัฒนาลูก ดังนั้นเนื้อหาในช่วงนี้จึงออกแบบเพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ถูกต้องและทำความรู้จักต่อสิ่งที่เราต้องการพัฒนาให้ครบด้าน การออกแบบการเรียนรู้ในช่วงที่ 1 เพื่อให้พ่อแม่มีความเข้าใจลูกจึงมีเนื้อหา 2 หัวข้อใหญ่ๆ ที่จำเป็นต่อการเรียนรู้ได้แก่ เด็กตามธาตุ และ 12 senses เพื่อเสริมสร้างความเข้าใจในกระบวนการพัฒนาและการเติบโตของเด็ก ทั้งการเติบโตทางกายภาพ และ พัฒนาการสำคัญที่จะส่งเสริมให้เด็กแต่ละช่วงวัยเติบโตได้อย่างมีคุณภาพและมีความสมดุลทั้งร่างกาย สมอง และจิตใจ รวมไปถึงการใช้กระบวนการพัฒนาสติให้กับพ่อแม่ เพื่อให้พ่อแม่อยู่ในกระบวนการ ‘ห่างเพื่อเห็น’ คือการห่างจากกิเลสในใจเราเพื่อเห็นลูกอย่างที่ลูกเป็น กระบวนการนี้จะนำไปสู่การพัฒนาศักยภาพลูกอย่างที่ลูกเป็นไม่ใช่อย่างที่เราอยากให้ลูกเป็น ดังนั้นในกระบวนการเรียนรู้ จึงมีการแบ่งเนื้อหาการเรียนรู้ออกเป็น 18 unit
‘พร้อมที่จะเรียนรู้ไปกับเราแล้วหรือยังคะ’





ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

เป้าหมายในการสร้างผู้นำแห่งสติ

 3 กลุ่มทักษะของผู้นำแห่งสติ  ในการสร้างกระบวนการเรียนรู้เพื่อสร้างผู้นำแห่งสติของโครงการขับเคลื่อนครอบครัวอบอุ่นด้วยสติในองค์กรมุ่งการพัฒนาทักษะพื้นฐานในการใช้ชีวิตและการทำงาน (Skills for Life) 3 ด้าน ได้แก่ 1. ทักษะการดำรงชีวิตประจำวัน (Daily Life Skills) เป็นทักษะในการดูแลตนเองทางด้านการกิน นอน พักผ่อน ความปลอดภัย และการเงิน  2. ทักษะชีวิต (Life Skills) เป็นทักษะในการอยู่ร่วมกันด้วยสติ ได้แก่ การตระหนักรู้ (Awareness)  การเห็นอกเห็นใจ (Empathy) ความร่วมมือ (Collaboration) การโน้มน้าวใจ (Communication) ความคิดสร้างสรรค์ (Creativity) การปรับตัว (Adaptation) และการบริหารเวลา (Time Management)  3. ทักษะความรอบรู้ (Literacy Skills) เป็นทักษะเพื่อการอยู่กับโลกที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ได้แก่ ทักษะความรอบรู้ด้านสื่อ (Media Literacy) และความรอบรู้ด้านสุขภาพ (Health Literacy) 3 คุณสมบัติของผู้นำแห่งสติ  ผู้นำแห่งสติ หมายถึง ผู้ที่สามารถพาตนให้รอดพ้นจากความทุกข์ได้ และเป็นแรงบันดาลใจให้แก่ผู้อื่นได้ ซึ่งท่านแม่ชีศันสนีย์ เสถียรสุต ได้ชักชวนผู้คนทุกเพศวัยให้เข้ามา...

โปรแกรมครอบครัวแห่งสติ สร้างลูก สร้างโลก

 โปรแกรม ครอบครัวแห่งสติสร้างลูกสร้างโลก   โปรแกรมครอบครัวแห่งสติสร้าางลูกสร้างโลก เป็นโปรแกรมที่ประกอบด้วยหลักสูตรย่อยทั้งรูปแบบ on land  online, on site และ hybrid เพื่อการออกแบบชีวิตที่อยู่ดีมีสุขด้วยสติ (Mindful Wellness Lifestyle) สำหรับกลุ่มเป้าหมายที่มีลูกตั้งแต่ตั้งครรภ์จนถึงลูกอายุ 14  ปี ที่เรียกว่า 'กลุ่มสร้างลูก'   เนื้อหาของหลักสูตร ภายในโปรแกรมออกแบบขึ้นเพื่อตอบโจทย์ชีวิตคนที่มีลูกที่ต้องการเตรียมตัวทั้งตนเองและลูกให้เกิดภูมิคุ้มกันชีวิต จนสามารถสร้างชีวิตที่มีไลฟ์สไตล์แบบมีสุขภาวะดีทั้ง กาย ใจ จิตวิญญาณ (Wellness Lifestyle) โดยชวนให้เตรียมตัวเองล่วงหน้าให้มีไลฟ์สไตล์แบบพึ่งตัวเองได้ทั้งกาย ใจ และเศรษฐกิจ มีความพร้อมในการดูแลสมาชิกครอบครัวและเป็นผู้ให้ในบทบาทของพ่อแม่และคนทำงานในองค์กร สามารถเป็นที่พึ่งทางใจ ให้สติ และชี้แนะแนวทางแก้ปัญหาชีวิตอย่างมีสติ ให้แก่กับลูก คนในครอบครัว เพื่อนในที่ทำงานได้ และเป็นเครื่องมือในการดำเนินชีวิตให้ผ่านยุคดิสรัปชั่นจากวิกฤติโควิด-19 เข้าสู่สังคมยุค New Normal-Now Normal ได้อย่างมีความสุข วิทยากรจิตอาสา...

ทฤษฏีที่นำมาออกแบบกระบวนการเรียนรู้

  ทฤษฏีที่นำมาออกแบบกระบวนการเรียนรู้ เสถียรธรรมสถาน เป็น 'ชุมชนแห่งการเรียนรู้(Learning Community) เพื่ออยู่ร่วมกันอย่างศานติ โดยมีพุทธรรมเป็นรากฐาน' ก่อตั้งมาตั้งแต่ พ.ศ.2530 โดยท่านแม่ชีศันสนีย์ เสถียรสุต มีแนวคิดในการออกแบบการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ (Learner Oriented) และใช้ศิลปะในการออกแบบการเรียนรู้แบบเกลียวเชือก โดยจัดประสบการณ์เรียนรู้ที่หลากหลาย  ให้สอดคล้องกับจริตของผู้เรียนที่แตกต่างกัน จนเกิดเป็นศิลปะการออกแบบกระบวนการเรียนรู้ที่เรียกว่า 'มองนอก ดูใน' เพื่อให้ผู้เรียนใช้ประสบการณ์ภายนอกน้อมนำให้เกิดประสบการณ์ภายในจนนำไปสู่การพัฒนาจิตใจได้ด้วยทฤษฎีการเรียนรู้ 3 ด้าน ได้แก่   1.พุทธศาสตร์   ใช้หลักไตรสิกขา อริยสัจ  ปฏิจจสมุปบาทและธรรมประกอบกัน เช่น อุปกิเลส  อริยมรรค  อินทรีย์ภาวนา สัปปุริสธรรม สัปปายะ ขันธ์ 5 ภาวนา 4  อิทธิบาท 4 พรหมวิหาร 4 เป็นต้น  มาสื่อสารแบบร่วมสมัยเน้นการถ่ายทอดความรู้แบบ 'ทำของยากให้ง่าย' ใช้ภาษาเรียบง่ายและเข้าถึงคนทุกวัย   2.วิทยาศาสตร์   ใช้หลัก Brain-Based Learning ...