ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

หลักสูตร hybrid


หลักสูตร hybrid  

Hybrid มี 1 หลักสูตร

ชื่อหลักสูตร ออกแบบเครื่องมือเพื่อพัฒนาเด็กในภาวะวิกฤต…Meditation kids set 

วัตถุประสงค์ในการทำหลักสูตร

1. เพื่อให้ผู้เข้าร่วมอบรมได้มีประสบการณ์ในการนำทฤษฏีมาใช้ในสถานการณ์จริง

2. เพื่อบูรณาการเนื้อหา 12 senses ต้นทุนชีวิต และ design thinking แล้วนำมาสร้างเป็นเครื่องมือเพื่อนำไปช่วยเหลือเด็กที่อยู่ในภาวะวิกฤตทางจิตใจในช่วงโควิดได้

3.  เพื่อกระตุ้นให้ผู้เรียนเห็นประโยชน์ของการเรียนรู้ที่สามารถจับต้องได้อย่างเป็นรูปธรรม

เข้าเรียนรู้ได้ตามลิงก์

https://fb.watch/jo55lAHck0/?mibextid=qC1gEa

ผลจากการเรียนรู้ เกิดการสร้างเครื่องมือและนำไปใช้จริงจนเกิดเป็นเพจเด็กต้องรอดที่สามารถช่วยเหลือเด็กเล็ก 1,200 ชุด เด็กโต 1,400 ชุด ตุ๊กตาน้องงีบสำหรับเป็นกำลังใจให้หมอและพยาบาล 500 ชุด ทั้งหมดส่งไปยังพื้นที่โรงพยาบาล 16 โรงพยาบาล พื้นที่ชุมชน 4 ชุมชน ได้แก่ยะลาปัตตานี นราธิวาส และอ.จะนะ จังหวัดสงขลา จาก 4 ภูมิภาคได้แก่ ภาคกลางกรุงเทพ เป็นศูนย์พักคอย 3 ศูนย์ ได้แก่ ศูนย์ไปรษณีย์หลักสี่ ศูนย์รามอินทรา ศูนย์เกียกกาย โรงพยาบาลทหารอากาศทุ่งสีกัน จังหวัดปทุมธานี ศูนย์พักคอยโรงเรียนอาชีวปทุมธานี โรงพยาบาลปทุมธานี จังหวัดอยุธยา โรงพยาบาลอยุธยา จังหวัดสมุทรสาคร โรงพยาบาลสมุทรสาคร โรงพยาบาลบ้านแพ้ว จังหวัดลพบุรี โรงพยาบาลพระนารายณ์มหาราช ภาคตะวันออก จังหวัดชลบุรี โรงพยาบาลเมืองพัทยา โรงพยาบาลบางละมุง จังหวัดระยอง บ.อิมเมจเฟอร์เจอร์ จำกัด ภาคเหนือ จังหวัดนครสวรรค์ โรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์ ศูนย์พักคอยบึงบอระเพ็ด จังหวัดเชียงใหม่ โรงพยาบาลนครพิงค์  ภาคอีสาน ศูนย์พักคอยเทศบาลตำบลหนองสองห้อง จังหวัดบึงกาฬ โรงพยาบาลศรีวิไล จังหวัดชัยภูมิ โรงพยาบาลแก้งค้อ และภาคใต้ จังหวัดภูเก็ต โรงพยาบาลวชิระ จังหวัดสงขลา โรงพยาบาลสนาม มอ. จังหวัดสุราษฏร์ธานีโรงพยาบาลกาญจนดิษฐ์  จังหวัดนครศรีธรรมราช อ.ทุ่งสง บ.ลาภทักษิณ จำกัด

กดดูผลงานจากเพจเด็กต้องรอดได้ตามลิงก์ด้านล่าง

https://www.facebook.com/CSVMOM?mibextid=ZbWKwL


ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

เป้าหมายในการสร้างผู้นำแห่งสติ

 3 กลุ่มทักษะของผู้นำแห่งสติ  ในการสร้างกระบวนการเรียนรู้เพื่อสร้างผู้นำแห่งสติของโครงการขับเคลื่อนครอบครัวอบอุ่นด้วยสติในองค์กรมุ่งการพัฒนาทักษะพื้นฐานในการใช้ชีวิตและการทำงาน (Skills for Life) 3 ด้าน ได้แก่ 1. ทักษะการดำรงชีวิตประจำวัน (Daily Life Skills) เป็นทักษะในการดูแลตนเองทางด้านการกิน นอน พักผ่อน ความปลอดภัย และการเงิน  2. ทักษะชีวิต (Life Skills) เป็นทักษะในการอยู่ร่วมกันด้วยสติ ได้แก่ การตระหนักรู้ (Awareness)  การเห็นอกเห็นใจ (Empathy) ความร่วมมือ (Collaboration) การโน้มน้าวใจ (Communication) ความคิดสร้างสรรค์ (Creativity) การปรับตัว (Adaptation) และการบริหารเวลา (Time Management)  3. ทักษะความรอบรู้ (Literacy Skills) เป็นทักษะเพื่อการอยู่กับโลกที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ได้แก่ ทักษะความรอบรู้ด้านสื่อ (Media Literacy) และความรอบรู้ด้านสุขภาพ (Health Literacy) 3 คุณสมบัติของผู้นำแห่งสติ  ผู้นำแห่งสติ หมายถึง ผู้ที่สามารถพาตนให้รอดพ้นจากความทุกข์ได้ และเป็นแรงบันดาลใจให้แก่ผู้อื่นได้ ซึ่งท่านแม่ชีศันสนีย์ เสถียรสุต ได้ชักชวนผู้คนทุกเพศวัยให้เข้ามาฝึกตนให้มีคุณสมบัติ 3 ข้อนี้

โปรแกรมครอบครัวแห่งสติ สร้างลูก สร้างโลก

 โปรแกรม ครอบครัวแห่งสติสร้างลูกสร้างโลก   โปรแกรมครอบครัวแห่งสติสร้าางลูกสร้างโลก เป็นโปรแกรมที่ประกอบด้วยหลักสูตรย่อยทั้งรูปแบบ on land  online, on site และ hybrid เพื่อการออกแบบชีวิตที่อยู่ดีมีสุขด้วยสติ (Mindful Wellness Lifestyle) สำหรับกลุ่มเป้าหมายที่มีลูกตั้งแต่ตั้งครรภ์จนถึงลูกอายุ 14  ปี ที่เรียกว่า 'กลุ่มสร้างลูก'   เนื้อหาของหลักสูตร ภายในโปรแกรมออกแบบขึ้นเพื่อตอบโจทย์ชีวิตคนที่มีลูกที่ต้องการเตรียมตัวทั้งตนเองและลูกให้เกิดภูมิคุ้มกันชีวิต จนสามารถสร้างชีวิตที่มีไลฟ์สไตล์แบบมีสุขภาวะดีทั้ง กาย ใจ จิตวิญญาณ (Wellness Lifestyle) โดยชวนให้เตรียมตัวเองล่วงหน้าให้มีไลฟ์สไตล์แบบพึ่งตัวเองได้ทั้งกาย ใจ และเศรษฐกิจ มีความพร้อมในการดูแลสมาชิกครอบครัวและเป็นผู้ให้ในบทบาทของพ่อแม่และคนทำงานในองค์กร สามารถเป็นที่พึ่งทางใจ ให้สติ และชี้แนะแนวทางแก้ปัญหาชีวิตอย่างมีสติ ให้แก่กับลูก คนในครอบครัว เพื่อนในที่ทำงานได้ และเป็นเครื่องมือในการดำเนินชีวิตให้ผ่านยุคดิสรัปชั่นจากวิกฤติโควิด-19 เข้าสู่สังคมยุค New Normal-Now Normal ได้อย่างมีความสุข วิทยากรจิตอาสา ที่มาร่วมพัฒนาโปรแกร

ทฤษฏีที่นำมาออกแบบกระบวนการเรียนรู้

  ทฤษฏีที่นำมาออกแบบกระบวนการเรียนรู้ เสถียรธรรมสถาน เป็น 'ชุมชนแห่งการเรียนรู้(Learning Community) เพื่ออยู่ร่วมกันอย่างศานติ โดยมีพุทธรรมเป็นรากฐาน' ก่อตั้งมาตั้งแต่ พ.ศ.2530 โดยท่านแม่ชีศันสนีย์ เสถียรสุต มีแนวคิดในการออกแบบการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ (Learner Oriented) และใช้ศิลปะในการออกแบบการเรียนรู้แบบเกลียวเชือก โดยจัดประสบการณ์เรียนรู้ที่หลากหลาย  ให้สอดคล้องกับจริตของผู้เรียนที่แตกต่างกัน จนเกิดเป็นศิลปะการออกแบบกระบวนการเรียนรู้ที่เรียกว่า 'มองนอก ดูใน' เพื่อให้ผู้เรียนใช้ประสบการณ์ภายนอกน้อมนำให้เกิดประสบการณ์ภายในจนนำไปสู่การพัฒนาจิตใจได้ด้วยทฤษฎีการเรียนรู้ 3 ด้าน ได้แก่   1.พุทธศาสตร์   ใช้หลักไตรสิกขา อริยสัจ  ปฏิจจสมุปบาทและธรรมประกอบกัน เช่น อุปกิเลส  อริยมรรค  อินทรีย์ภาวนา สัปปุริสธรรม สัปปายะ ขันธ์ 5 ภาวนา 4  อิทธิบาท 4 พรหมวิหาร 4 เป็นต้น  มาสื่อสารแบบร่วมสมัยเน้นการถ่ายทอดความรู้แบบ 'ทำของยากให้ง่าย' ใช้ภาษาเรียบง่ายและเข้าถึงคนทุกวัย   2.วิทยาศาสตร์   ใช้หลัก Brain-Based Learning (BBL) มาออกแบบประสบการณ์เพื่อทำให้เกิดกิจกรรม