ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

ชุดความรู้ครอบครัวอบอุ่นด้วยสติในองค์กรกลุ่มสร้างลูก MINDFULNESS FAMILY

 



บทนำ

สร้างลูกด้วยการสร้างโลก 

คนรุ่นสร้างลูก หมายถึง วัยทำงานที่เป็นคนหนุ่มสาวในองค์กรที่มีลูกซึ่งจากงานวิจัยเรื่อง ’ครอบครัวทางเลือกและการคงอยู่ของสถาบันครอบครัว’ โดย วฤษสพร ณัฐรุจิโรจน์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ภาคภาษาไทยสาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์และศิลปะ ปีที่ 10 ฉบับที่ 2 เดือนพฤษภาคม - สิงหาคม 2560 พบว่าสังคมไทยในปัจจุบันมีครอบครัวตามอุดมคติซึ่งหมายถึงครอบครัวที่มีทั้งพ่อและแม่ทำหน้าที่อบรมเลี้ยงดูลูกด้วยกันมีจำนวนน้อยลง ในขณะที่ครอบครัวประเภอทอื่นๆ หรือครอบครัวทางเลือก โดยเฉพาะครอบครัวเลี้ยงเดี่ยว และ ครอบครัวที่มีพ่อแม่อยู่ในวัยเยาว์มีจำนวนมากขึ้น เมื่อครอบครัวมีการเปลี่ยนแปลงทำให้ต้องประสบกับวิกฤตการณ์ที่ทำให้หน้าที่ของสมาชิกในครอบครัวต้องเปลี่ยนแปลงไปด้วย การเปลี่ยนแปลงนี้ทำให้ผู้ที่เป็นพ่อแม่ต้องเผชิญกับวิกฤตครอบครัวและหากไม่สามารถข้ามผ่านวิกฤตนี้ไปได้ก็จะส่งผลกระทบต่อลูกในภายภาคหน้า  

เนื่องจากครอบครัวเป็นสถาบันที่เป็นหน่วยเล็กที่สุดในโครงสร้างของสังคมและมีบทบาทมากที่สุดสถาบันหนึ่งเนื่องจากเป็นสถาบันที่สามารถสร้างบุคลากรที่มีคุณภาพของประเทศและในขณะเดียวกันสถาบันครอบครัวก็กลับสร้างบุคลากรของประเทศที่ด้อยคุณภาพได้เช่นกัน 

โครงการขับเคลื่อนครอบครัวอบอุ่นด้วยสติในองค์กร จึงให้ความสำคัญต่อกลุ่มคนที่อยู่ในวัยที่ต้องสร้างลูกคือคนในองค์กรที่มีลูกและต้องมีบทบาทหน้าที่รับผิดชอบในการเลี้ยงดูลูกเป็น 1 ใน 3 ของกลุ่มเป้าหมาย  ในการพัฒนาผู้นำแห่งสติโดยเรียกว่า 'กลุ่มสร้างลูก' และกำหนดกลุ่มเป้าหมายคือพ่อแม่ที่มีลูกตั้งแต่กำลังตั้งครรภ์จนถึงมีลูกที่อายุไม่เกิน 14 ปี

ลูกเป็นอย่างไรโลกเป็นอย่างนั้น 

เสถียรธรรมสถานโดยท่านแม่ชีศันสนีย์ เสถียรสุต ผู้ก่อตั้งเสถียรธรรมสถานทำงาน ‘สร้างโลกโดยผ่านเด็ก’ มาตั้งแต่เริ่มก่อตั้งเสถียรธรรมสถานเพราะเห็นความสำคัญของการสร้างต้นทุนทางสังคมที่สำคัญของโลกคือทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณภาพ ด้วยแนวคิด ‘อัจฉริยะเป็นไม่ได้ทุกคนแต่อริยะเป็นได้ทุกคน’ และ ‘ยิ่งเล็กเท่าไหร่ยิ่งง่ายเท่านั้น’ และนี่คือจุดเริ่มต้นของการทำความเข้าใจชีวิตจะทำให้มนุษย์ใช้ชีวิตได้อย่างสุขง่ายทุกข์ยากได้ตั้งแต่เล็กเพื่อให้เด็กเติบโตอย่างเข้าใจโลก มองความลำบากเป็นการเติบโต มองปัญหาเหมือนหินลับมีดที่ทำให้ชีวิตของเราคมขึ้น 
        ท่านแม่ชีศันสนีย์ เสถียรสุต จึงเปิดพื้นที่ให้เสถียรธรรมสถานเป็นเรือนเพาะชำอริยชนคนรุ่นใหม่ที่มีธรรมอยู่ในวิถีชีวิต ด้วยวิธีการสื่อสารและการทำงานกับพ่อแม่อย่างจริงจังผ่านหลายโครงการ ‘จิตประภัสสรตั้งแต่นอนอยู่ในครรภ์’ ‘โรงเรียนพ่อแม่’ และ ‘ISV Club’ พ่อแม่และเด็กจากโครงการต่างๆ เหล่านี้จึงเรียกท่านแม่ชีศันสนีย์ เสถียรสุต ว่า ‘คุณยายจ๋า’ เสถียรธรรมสถานจึงเปรียบเสมือนชุมชนที่เปิดโอกาสให้ทุกครอบครัวได้เข้ามาร่วมเรียนรู้อย่างที่ทุกคนเป็นวงศาคณาญาติ เป็นย่า ยาย พี่ ป้า น้า อา ทำให้เด็กๆได้เติบโตอย่างมีครอบครัวใหญ่อันจะเป็นการบ่มเพาะเด็กให้ ‘พึ่งตนเองได้ ให้คนอื่นเป็น’ 
         ด้วยแนวคิดนี้สังคมจะได้เด็กที่เป็นคนสงบเย็น เป็นประโยชน์ ไม่ว่าลำบากอย่างไรก็จะทำให้สำเร็จได้ด้วยปัญญา สังคมอุดมปัญญาจากการบ่มเพาะเด็กที่มีลักษณะเช่นนี้ก็จะเกิดขึ้นในสังคมไทย สังคมโลก อย่างที่พ่อแม่ต้องรู้ว่า ถ้าทำในเหตุเราก็ปฏิเสธผลไม่ได้ และนี่คือสิ่งที่ท่านแม่ชีศันสนีย์ เสถียรสุต ชวนพ่อแม่ทุกคนมาลงแขกลงขันลงทุนร่วมกันเพื่อ ‘สร้างโลกผ่านลูกของเรา’


เลี้ยงลูกอย่างไม่มีลูกฉันลูกเธอมีแต่ลูกของเรา 

วงศาคญาติกลไกสำคัญที่ทำให้เกิดการเรียนรู้ร่วมระหว่างครอบครัวและช่วยกันสร้างเด็กให้เป็นอริยชน เพราะรู้การการเลี้ยงลูกเป็นเรื่องยาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสังคมปัจจุบันที่การมีครอบครัวใหญ่ที่ช่วยกันเลี้ยงลูกแทบจะหายไปจากสังคมไทยทำให้ครอบครัวทางเลือกที่ต้องเจอกับปัญหาและความเหนื่อยล้าจากการเลี้ยงลูกมีทางออก การสร้างสังคมที่มาช่วยกันเลี้ยงลูกร่วมกันจึงเป็นกลไกสำคัญที่จะทำให้พ่อแม่และเด็กมีทางออกเมื่อเจอกับปัญหาและทุกการอยู่ร่วมกันเป็นสังคมของคนหมู่มากย่อมเกิดปัญหาดังนั้นการทำให้เกิดความคิดเห็นที่ถูกต้องเมื่อมาอยู่ร่วมกันคือคำสอนที่ท่านแม่ชีศันสนีย์ เสถียรสุต ได้ให้ไว้กับพ่อแม่ทุกคนคือ ‘ขอให้ทุกคนช่วยกันเลี้ยงลูกอย่างไม่มีลูกฉันลูกเธอมีแต่ลูกของเรา’ และด้วยคำสอนนี้ทำให้เกิดกลไกสำคัญที่ทำให้เป้าหมายของการพัฒนาไปอยู่ที่เด็กและลดปัญหาการขัดแย้งอันเนื่องมาจากความคิดเห็นส่วนตน เพื่อประโยชน์ตนได้อย่างมีนัยสำคัญ 
 
สร้างสังคมองค์กรที่ช่วยกันเลี้ยงลูกอย่างมีสติ

เมื่อผู้ใหญ่ที่อยู่รายล้อมตัวเด็กเป็นผู้ใหญ่ที่มีสัมมาทิฐฐิเด็กก็เดินอยู่บนมรรคภาวนาคือหนทางที่จะมีชีวิตอย่างสุขง่ายทุกข์ยาก ใช้ชีวิตอย่างสงบเย็นและเป็นประโยชน์ได้ นี่คือแนวทางที่เสถียรธรรมสถานได้ถอดองค์ความรู้กว่า 33 ปีในการทำงานเด็กออกมาอย่างเป็นรูปธรรมและสามารถนำองค์ความรู้ไปขยายต่อยังองค์กรที่สนใจ อันจะเป็นการขยายสังคมแห่งการเรียนรู้ออกไปสู่สังคมที่เป็นองค์กร ที่ทำงาน และชุมชนอื่นๆ ด้วยการสกัดชุดความรู้จากการทำงานเด็กและครอบครัวออกมาเป็นหลักสูตรที่เหมาะกับแต่ละช่วงวัยของเด็ก เมื่อหลายหลักสูตรมารวมกันจึงเกิดเป็นชุดความรู้ที่องค์กรสามารถเลือกและนำไปปรับใช้ได้อย่างเหมาะสมกับแต่ละบริบทของพื้นที่และองค์กร โดยมีผู้ใหญ่ พ่อแม่ เป็นผู้ที่จะช่วยกันสร้างพื้นที่ปลอดภัยทำให้เด็กเติบโตอย่างมั่นคง ทำให้สถาบันครอบครัวสามารถสร้างบุคลากรที่มีคุณค่าของสังคมโลกได้



ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

เป้าหมายในการสร้างผู้นำแห่งสติ

 3 กลุ่มทักษะของผู้นำแห่งสติ  ในการสร้างกระบวนการเรียนรู้เพื่อสร้างผู้นำแห่งสติของโครงการขับเคลื่อนครอบครัวอบอุ่นด้วยสติในองค์กรมุ่งการพัฒนาทักษะพื้นฐานในการใช้ชีวิตและการทำงาน (Skills for Life) 3 ด้าน ได้แก่ 1. ทักษะการดำรงชีวิตประจำวัน (Daily Life Skills) เป็นทักษะในการดูแลตนเองทางด้านการกิน นอน พักผ่อน ความปลอดภัย และการเงิน  2. ทักษะชีวิต (Life Skills) เป็นทักษะในการอยู่ร่วมกันด้วยสติ ได้แก่ การตระหนักรู้ (Awareness)  การเห็นอกเห็นใจ (Empathy) ความร่วมมือ (Collaboration) การโน้มน้าวใจ (Communication) ความคิดสร้างสรรค์ (Creativity) การปรับตัว (Adaptation) และการบริหารเวลา (Time Management)  3. ทักษะความรอบรู้ (Literacy Skills) เป็นทักษะเพื่อการอยู่กับโลกที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ได้แก่ ทักษะความรอบรู้ด้านสื่อ (Media Literacy) และความรอบรู้ด้านสุขภาพ (Health Literacy) 3 คุณสมบัติของผู้นำแห่งสติ  ผู้นำแห่งสติ หมายถึง ผู้ที่สามารถพาตนให้รอดพ้นจากความทุกข์ได้ และเป็นแรงบันดาลใจให้แก่ผู้อื่นได้ ซึ่งท่านแม่ชีศันสนีย์ เสถียรสุต ได้ชักชวนผู้คนทุกเพศวัยให้เข้ามาฝึกตนให้มีคุณสมบัติ 3 ข้อนี้

โปรแกรมครอบครัวแห่งสติ สร้างลูก สร้างโลก

 โปรแกรม ครอบครัวแห่งสติสร้างลูกสร้างโลก   โปรแกรมครอบครัวแห่งสติสร้าางลูกสร้างโลก เป็นโปรแกรมที่ประกอบด้วยหลักสูตรย่อยทั้งรูปแบบ on land  online, on site และ hybrid เพื่อการออกแบบชีวิตที่อยู่ดีมีสุขด้วยสติ (Mindful Wellness Lifestyle) สำหรับกลุ่มเป้าหมายที่มีลูกตั้งแต่ตั้งครรภ์จนถึงลูกอายุ 14  ปี ที่เรียกว่า 'กลุ่มสร้างลูก'   เนื้อหาของหลักสูตร ภายในโปรแกรมออกแบบขึ้นเพื่อตอบโจทย์ชีวิตคนที่มีลูกที่ต้องการเตรียมตัวทั้งตนเองและลูกให้เกิดภูมิคุ้มกันชีวิต จนสามารถสร้างชีวิตที่มีไลฟ์สไตล์แบบมีสุขภาวะดีทั้ง กาย ใจ จิตวิญญาณ (Wellness Lifestyle) โดยชวนให้เตรียมตัวเองล่วงหน้าให้มีไลฟ์สไตล์แบบพึ่งตัวเองได้ทั้งกาย ใจ และเศรษฐกิจ มีความพร้อมในการดูแลสมาชิกครอบครัวและเป็นผู้ให้ในบทบาทของพ่อแม่และคนทำงานในองค์กร สามารถเป็นที่พึ่งทางใจ ให้สติ และชี้แนะแนวทางแก้ปัญหาชีวิตอย่างมีสติ ให้แก่กับลูก คนในครอบครัว เพื่อนในที่ทำงานได้ และเป็นเครื่องมือในการดำเนินชีวิตให้ผ่านยุคดิสรัปชั่นจากวิกฤติโควิด-19 เข้าสู่สังคมยุค New Normal-Now Normal ได้อย่างมีความสุข วิทยากรจิตอาสา ที่มาร่วมพัฒนาโปรแกร

ทฤษฏีที่นำมาออกแบบกระบวนการเรียนรู้

  ทฤษฏีที่นำมาออกแบบกระบวนการเรียนรู้ เสถียรธรรมสถาน เป็น 'ชุมชนแห่งการเรียนรู้(Learning Community) เพื่ออยู่ร่วมกันอย่างศานติ โดยมีพุทธรรมเป็นรากฐาน' ก่อตั้งมาตั้งแต่ พ.ศ.2530 โดยท่านแม่ชีศันสนีย์ เสถียรสุต มีแนวคิดในการออกแบบการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ (Learner Oriented) และใช้ศิลปะในการออกแบบการเรียนรู้แบบเกลียวเชือก โดยจัดประสบการณ์เรียนรู้ที่หลากหลาย  ให้สอดคล้องกับจริตของผู้เรียนที่แตกต่างกัน จนเกิดเป็นศิลปะการออกแบบกระบวนการเรียนรู้ที่เรียกว่า 'มองนอก ดูใน' เพื่อให้ผู้เรียนใช้ประสบการณ์ภายนอกน้อมนำให้เกิดประสบการณ์ภายในจนนำไปสู่การพัฒนาจิตใจได้ด้วยทฤษฎีการเรียนรู้ 3 ด้าน ได้แก่   1.พุทธศาสตร์   ใช้หลักไตรสิกขา อริยสัจ  ปฏิจจสมุปบาทและธรรมประกอบกัน เช่น อุปกิเลส  อริยมรรค  อินทรีย์ภาวนา สัปปุริสธรรม สัปปายะ ขันธ์ 5 ภาวนา 4  อิทธิบาท 4 พรหมวิหาร 4 เป็นต้น  มาสื่อสารแบบร่วมสมัยเน้นการถ่ายทอดความรู้แบบ 'ทำของยากให้ง่าย' ใช้ภาษาเรียบง่ายและเข้าถึงคนทุกวัย   2.วิทยาศาสตร์   ใช้หลัก Brain-Based Learning (BBL) มาออกแบบประสบการณ์เพื่อทำให้เกิดกิจกรรม