ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

LEVEL 1 12 SENSES UNIT 2 เข้าใจและพัฒนาลูกด้วย LOWER SENSES

ก่อนเข้าสู่บทเรียนขอเชิญชวนผู้เรียนทุกท่านกลับมาอยู่กับลมหายใจแห่งสติ จะอยู่ในอิริยาบทใดก็ได้ นั่งให้สบาย ผ่อนคลายดึงกระดูกสันหลังให้ตั้งตรง แล้วหายใจเข้าออก 3 ชุด  

วิธีการหายใจ

หายใจเข้า-ออก ชุดที่ 1 หายใจเข้า…รู้ หายใจออก…รู้  

หายใจเข้า-ออกชุดที่ 2 หายใจเข้า…อ่อนโยน หายใจออก…ผ่อนคลาย 

หายใจเข้า-ออกชุดที่ 3 หายใจเข้า…กายอยู่ที่นี่ หายใจออก…ใจอยู่ที่นี่ 

เมื่อมีกายและใจเป็นหนึ่งเดียวกันอยู่ในปัจจุบันขณะที่เป็นเวลาที่ประเสิรฐสุดแล้วให้กลับมาภาวนากับลมหายใจไปพร้อมกับท่านแม่ชีศันสนีย์ เสถียรสุต 


เมื่อปรับสมดุลกายใจก่อนเรียนรู้แล้ว ขอเชิญทุกท่านกลับเข้าสู่บทเรียน ‘ 12 SENSES เข้าใจและพัฒนาลูกด้วย LOWER SENSES’ โดย นพ. ทีปทัศน์ ชุณหสวัสดิกุลโดยการเลื่อนลงไปดูเนื้อหาด้านล่างนี้

เนื้อหาในวิดีโอนี้เกี่ยวกับ LOWER SENSES เป็นแนวทางในการพัฒนาลูกที่มีอายุแรกเกิดจนถึง 7 ขวบ ด้วยการพัฒนาผัสสะร่างกาย  4 อย่างที่สำคัญ 

1) Sense of Touch ผัสสะสำหรับรับรู้กายสัมผัส 

2) Sense of Life ผัสสะสำหรับรับรู้พลังชีวิต กล่าวคือ ความหิว ความอิ่ม ความง่วง การขับถ่าย ฯลฯ เพื่อรักษาสมดุลทาง สุขภาพ

3) Sense of Movement ผัสสะสำหรับรับรู้การเคลื่อนไหว ของแขนขาและร่างกาย

4) Sense of Balance ผัสสะสำหรับการทรงตัว เพื่อยืน และเดินแบบมนุษย์

หากพัฒนา 4 senses ไม่ดีย่อมส่งผลต่อความคิดอ่านและพัฒนาการของเด็ก คนหนึ่งไปชั่วชีวิต เมื่อมนุษย์เติบโตขึ้นเราใช้การมอง เพื่อเรียนรู้และอ่านหนังสือก็จริง แต่การจดจำสัญลักษณ์ของตัวอักษร ได้ คือการกลอกลูกตา ลากสายตาไปตามเส้นรูปทรงของอักขระ และ เราจะอ่านได้ดีขึ้นเมื่อใช้นิ้วมือลากไปพร้อม ๆ กับการอ่านหนังสือ นั่นคือ ปรากฏการณ์ที่เราใช้ผัสสะการเคลื่อนไหว Sense of Movement ร่วมกับผัสสะการมองเห็น Sense of Sight การฟังและการอ่านมีความสัมพันธ์กับ Sense of Balance และ Sense of Movement เพื่อที่จะได้ยินและแยกแยะภาษาของมนุษย์ออกจากเสียงสัตว์  เราต้องมีจังหวะหนึ่ง ๆ ในใจที่แน่นอน ที่จะใช้การแบ่งแยกคำในประโยค และเชื่อมโยงการเคลื่อนไหวของคำสู่ประโยคที่มีความหมาย การฟัง จึงอาศัยพื้นฐานของผัสสะแห่งการเคลื่อนไหวและสมดุลที่ดี เพื่อให้เรา อ่านออกเขียนได้เด็กที่ถูกบังคับให้นั่งนิ่ง ๆ เพื่อเรียนแบบท่องจำ จึงตกอยู่ในภาวะอันตรายอย่างยิ่งที่จะสูญเสียความเชื่อมโยงระหว่างทักษะการอ่าน การเขียนกับการเคลื่อนไหวภายใน 

สรุป 

ผัสสะแรกคือการเก็บเกี่ยวประสบการณ์ ผ่านผัสสะของร่างกายในช่วงที่เด็กยังไม่รับรู้ การมีชีวิต ซึ่งแต่ละผัสสะ ไม่ใช่แค่พัฒนาตรง ๆ เฉพาะการพัฒนาตัวผัสสะนั้น ๆ เอง แต่จะเป็นพื้นฐานเอื้อต่อการพัฒนาทักษะชีวิตในอนาคต Sense of Touch โตไปจะเชื่อมโยงกับความรู้สึกมั่นคง (Trust) ปลอดภัยต่อโลก Sense of Life โตไปจะเชื่อมโยงกับการรู้จักควบคุมจังหวะชีวิต (Rhythm) และการมีสุขภาพดีในระยะยาว Sense of Movement โตไปจะไปเชื่อมโยงกับการมองเห็น (Sight) ความปรารถนา เจตจำนง และการควบคุมจังหวะชีวิต Sense of Balance โตไปจะเชื่อมโยงกับทักษะการพูดและการฟัง


Next lesson


ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

เป้าหมายในการสร้างผู้นำแห่งสติ

 3 กลุ่มทักษะของผู้นำแห่งสติ  ในการสร้างกระบวนการเรียนรู้เพื่อสร้างผู้นำแห่งสติของโครงการขับเคลื่อนครอบครัวอบอุ่นด้วยสติในองค์กรมุ่งการพัฒนาทักษะพื้นฐานในการใช้ชีวิตและการทำงาน (Skills for Life) 3 ด้าน ได้แก่ 1. ทักษะการดำรงชีวิตประจำวัน (Daily Life Skills) เป็นทักษะในการดูแลตนเองทางด้านการกิน นอน พักผ่อน ความปลอดภัย และการเงิน  2. ทักษะชีวิต (Life Skills) เป็นทักษะในการอยู่ร่วมกันด้วยสติ ได้แก่ การตระหนักรู้ (Awareness)  การเห็นอกเห็นใจ (Empathy) ความร่วมมือ (Collaboration) การโน้มน้าวใจ (Communication) ความคิดสร้างสรรค์ (Creativity) การปรับตัว (Adaptation) และการบริหารเวลา (Time Management)  3. ทักษะความรอบรู้ (Literacy Skills) เป็นทักษะเพื่อการอยู่กับโลกที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ได้แก่ ทักษะความรอบรู้ด้านสื่อ (Media Literacy) และความรอบรู้ด้านสุขภาพ (Health Literacy) 3 คุณสมบัติของผู้นำแห่งสติ  ผู้นำแห่งสติ หมายถึง ผู้ที่สามารถพาตนให้รอดพ้นจากความทุกข์ได้ และเป็นแรงบันดาลใจให้แก่ผู้อื่นได้ ซึ่งท่านแม่ชีศันสนีย์ เสถียรสุต ได้ชักชวนผู้คนทุกเพศวัยให้เข้ามาฝึกตนให้มีคุณสมบัติ 3 ข้อนี้

ทฤษฏีที่นำมาออกแบบกระบวนการเรียนรู้

  ทฤษฏีที่นำมาออกแบบกระบวนการเรียนรู้ เสถียรธรรมสถาน เป็น 'ชุมชนแห่งการเรียนรู้(Learning Community) เพื่ออยู่ร่วมกันอย่างศานติ โดยมีพุทธรรมเป็นรากฐาน' ก่อตั้งมาตั้งแต่ พ.ศ.2530 โดยท่านแม่ชีศันสนีย์ เสถียรสุต มีแนวคิดในการออกแบบการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ (Learner Oriented) และใช้ศิลปะในการออกแบบการเรียนรู้แบบเกลียวเชือก โดยจัดประสบการณ์เรียนรู้ที่หลากหลาย  ให้สอดคล้องกับจริตของผู้เรียนที่แตกต่างกัน จนเกิดเป็นศิลปะการออกแบบกระบวนการเรียนรู้ที่เรียกว่า 'มองนอก ดูใน' เพื่อให้ผู้เรียนใช้ประสบการณ์ภายนอกน้อมนำให้เกิดประสบการณ์ภายในจนนำไปสู่การพัฒนาจิตใจได้ด้วยทฤษฎีการเรียนรู้ 3 ด้าน ได้แก่   1.พุทธศาสตร์   ใช้หลักไตรสิกขา อริยสัจ  ปฏิจจสมุปบาทและธรรมประกอบกัน เช่น อุปกิเลส  อริยมรรค  อินทรีย์ภาวนา สัปปุริสธรรม สัปปายะ ขันธ์ 5 ภาวนา 4  อิทธิบาท 4 พรหมวิหาร 4 เป็นต้น  มาสื่อสารแบบร่วมสมัยเน้นการถ่ายทอดความรู้แบบ 'ทำของยากให้ง่าย' ใช้ภาษาเรียบง่ายและเข้าถึงคนทุกวัย   2.วิทยาศาสตร์   ใช้หลัก Brain-Based Learning (BBL) มาออกแบบประสบการณ์เพื่อทำให้เกิดกิจกรรม

โปรแกรมครอบครัวแห่งสติ สร้างลูก สร้างโลก

 โปรแกรม ครอบครัวแห่งสติสร้างลูกสร้างโลก   โปรแกรมครอบครัวแห่งสติสร้าางลูกสร้างโลก เป็นโปรแกรมที่ประกอบด้วยหลักสูตรย่อยทั้งรูปแบบ on land  online, on site และ hybrid เพื่อการออกแบบชีวิตที่อยู่ดีมีสุขด้วยสติ (Mindful Wellness Lifestyle) สำหรับกลุ่มเป้าหมายที่มีลูกตั้งแต่ตั้งครรภ์จนถึงลูกอายุ 14  ปี ที่เรียกว่า 'กลุ่มสร้างลูก'   เนื้อหาของหลักสูตร ภายในโปรแกรมออกแบบขึ้นเพื่อตอบโจทย์ชีวิตคนที่มีลูกที่ต้องการเตรียมตัวทั้งตนเองและลูกให้เกิดภูมิคุ้มกันชีวิต จนสามารถสร้างชีวิตที่มีไลฟ์สไตล์แบบมีสุขภาวะดีทั้ง กาย ใจ จิตวิญญาณ (Wellness Lifestyle) โดยชวนให้เตรียมตัวเองล่วงหน้าให้มีไลฟ์สไตล์แบบพึ่งตัวเองได้ทั้งกาย ใจ และเศรษฐกิจ มีความพร้อมในการดูแลสมาชิกครอบครัวและเป็นผู้ให้ในบทบาทของพ่อแม่และคนทำงานในองค์กร สามารถเป็นที่พึ่งทางใจ ให้สติ และชี้แนะแนวทางแก้ปัญหาชีวิตอย่างมีสติ ให้แก่กับลูก คนในครอบครัว เพื่อนในที่ทำงานได้ และเป็นเครื่องมือในการดำเนินชีวิตให้ผ่านยุคดิสรัปชั่นจากวิกฤติโควิด-19 เข้าสู่สังคมยุค New Normal-Now Normal ได้อย่างมีความสุข วิทยากรจิตอาสา ที่มาร่วมพัฒนาโปรแกร