ก่อนเข้าสู่บทเรียนขอเชิญชวนผู้เรียนทุกท่านกลับมาอยู่กับลมหายใจแห่งสติ จะอยู่ในอิริยาบทใดก็ได้ นั่งให้สบาย ผ่อนคลายดึงกระดูกสันหลังให้ตั้งตรง แล้วหายใจเข้าออก 3 ชุด
วิธีการหายใจ
หายใจเข้า-ออก ชุดที่ 1 หายใจเข้า…รู้ หายใจออก…รู้
หายใจเข้า-ออกชุดที่ 2 หายใจเข้า…อ่อนโยน หายใจออก…ผ่อนคลาย
หายใจเข้า-ออกชุดที่ 3 หายใจเข้า…กายอยู่ที่นี่ หายใจออก…ใจอยู่ที่นี่
เมื่อมีกายและใจเป็นหนึ่งเดียวกันอยู่ในปัจจุบันขณะที่เป็นเวลาที่ประเสิรฐสุดแล้วให้กลับมาภาวนากับลมหายใจไปพร้อมกับท่านแม่ชีศันสนีย์ เสถียรสุต
เมื่อปรับสมดุลกายใจก่อนเรียนรู้แล้ว ขอเชิญทุกท่านกลับเข้าสู่บทเรียน ‘ 12 SENSES เข้าใจและพัฒนาลูกด้วย LOWER SENSES’ โดย นพ. ทีปทัศน์ ชุณหสวัสดิกุลโดยการเลื่อนลงไปดูเนื้อหาด้านล่างนี้
เนื้อหาในวิดีโอนี้เกี่ยวกับ LOWER SENSES เป็นแนวทางในการพัฒนาลูกที่มีอายุแรกเกิดจนถึง 7 ขวบ ด้วยการพัฒนาผัสสะร่างกาย 4 อย่างที่สำคัญ
1) Sense of Touch ผัสสะสำหรับรับรู้กายสัมผัส
2) Sense of Life ผัสสะสำหรับรับรู้พลังชีวิต กล่าวคือ ความหิว ความอิ่ม ความง่วง การขับถ่าย ฯลฯ เพื่อรักษาสมดุลทาง สุขภาพ
3) Sense of Movement ผัสสะสำหรับรับรู้การเคลื่อนไหว ของแขนขาและร่างกาย
4) Sense of Balance ผัสสะสำหรับการทรงตัว เพื่อยืน และเดินแบบมนุษย์
หากพัฒนา 4 senses ไม่ดีย่อมส่งผลต่อความคิดอ่านและพัฒนาการของเด็ก คนหนึ่งไปชั่วชีวิต เมื่อมนุษย์เติบโตขึ้นเราใช้การมอง เพื่อเรียนรู้และอ่านหนังสือก็จริง แต่การจดจำสัญลักษณ์ของตัวอักษร ได้ คือการกลอกลูกตา ลากสายตาไปตามเส้นรูปทรงของอักขระ และ เราจะอ่านได้ดีขึ้นเมื่อใช้นิ้วมือลากไปพร้อม ๆ กับการอ่านหนังสือ นั่นคือ ปรากฏการณ์ที่เราใช้ผัสสะการเคลื่อนไหว Sense of Movement ร่วมกับผัสสะการมองเห็น Sense of Sight การฟังและการอ่านมีความสัมพันธ์กับ Sense of Balance และ Sense of Movement เพื่อที่จะได้ยินและแยกแยะภาษาของมนุษย์ออกจากเสียงสัตว์ เราต้องมีจังหวะหนึ่ง ๆ ในใจที่แน่นอน ที่จะใช้การแบ่งแยกคำในประโยค และเชื่อมโยงการเคลื่อนไหวของคำสู่ประโยคที่มีความหมาย การฟัง จึงอาศัยพื้นฐานของผัสสะแห่งการเคลื่อนไหวและสมดุลที่ดี เพื่อให้เรา อ่านออกเขียนได้เด็กที่ถูกบังคับให้นั่งนิ่ง ๆ เพื่อเรียนแบบท่องจำ จึงตกอยู่ในภาวะอันตรายอย่างยิ่งที่จะสูญเสียความเชื่อมโยงระหว่างทักษะการอ่าน การเขียนกับการเคลื่อนไหวภายใน
สรุป
ผัสสะแรกคือการเก็บเกี่ยวประสบการณ์ ผ่านผัสสะของร่างกายในช่วงที่เด็กยังไม่รับรู้ การมีชีวิต ซึ่งแต่ละผัสสะ ไม่ใช่แค่พัฒนาตรง ๆ เฉพาะการพัฒนาตัวผัสสะนั้น ๆ เอง แต่จะเป็นพื้นฐานเอื้อต่อการพัฒนาทักษะชีวิตในอนาคต Sense of Touch โตไปจะเชื่อมโยงกับความรู้สึกมั่นคง (Trust) ปลอดภัยต่อโลก Sense of Life โตไปจะเชื่อมโยงกับการรู้จักควบคุมจังหวะชีวิต (Rhythm) และการมีสุขภาพดีในระยะยาว Sense of Movement โตไปจะไปเชื่อมโยงกับการมองเห็น (Sight) ความปรารถนา เจตจำนง และการควบคุมจังหวะชีวิต Sense of Balance โตไปจะเชื่อมโยงกับทักษะการพูดและการฟัง
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น