ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

ทฤษฏีที่นำมาออกแบบกระบวนการเรียนรู้


 

ทฤษฏีที่นำมาออกแบบกระบวนการเรียนรู้

เสถียรธรรมสถาน เป็น 'ชุมชนแห่งการเรียนรู้(Learning Community) เพื่ออยู่ร่วมกันอย่างศานติ โดยมีพุทธรรมเป็นรากฐาน' ก่อตั้งมาตั้งแต่ พ.ศ.2530 โดยท่านแม่ชีศันสนีย์ เสถียรสุต มีแนวคิดในการออกแบบการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ (Learner Oriented) และใช้ศิลปะในการออกแบบการเรียนรู้แบบเกลียวเชือก โดยจัดประสบการณ์เรียนรู้ที่หลากหลาย  ให้สอดคล้องกับจริตของผู้เรียนที่แตกต่างกัน จนเกิดเป็นศิลปะการออกแบบกระบวนการเรียนรู้ที่เรียกว่า 'มองนอก ดูใน' เพื่อให้ผู้เรียนใช้ประสบการณ์ภายนอกน้อมนำให้เกิดประสบการณ์ภายในจนนำไปสู่การพัฒนาจิตใจได้ด้วยทฤษฎีการเรียนรู้ 3 ด้าน ได้แก่

 

1.พุทธศาสตร์   ใช้หลักไตรสิกขา อริยสัจ  ปฏิจจสมุปบาทและธรรมประกอบกัน เช่น อุปกิเลส  อริยมรรค  อินทรีย์ภาวนา สัปปุริสธรรม สัปปายะ ขันธ์ 5 ภาวนา 4  อิทธิบาท 4 พรหมวิหาร 4 เป็นต้น  มาสื่อสารแบบร่วมสมัยเน้นการถ่ายทอดความรู้แบบ 'ทำของยากให้ง่าย' ใช้ภาษาเรียบง่ายและเข้าถึงคนทุกวัย  


2.วิทยาศาสตร์   ใช้หลัก Brain-Based Learning (BBL) มาออกแบบประสบการณ์เพื่อทำให้เกิดกิจกรรมจากการลงมือทำจนเกิดประสบการณ์ภายใน ทำให้เกิดกระบวนการสังเกตอารมณ์ความรู้สึก (Outside In) และใช้การสะท้อนความคิดรวมถึงคิดวิเคราะห์เหตุและผลของพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลง  ซึ่งเป็นความชำนาญของเสถียรธรรมสถานอันสืบเนื่องมาจากการร่วมงานกับสถาบันวิทยาการเรียนรู้ (สวร.) ผู้ริเริ่มการนำความรู้ทาง Neurosciences มาตั้งแต่ พ.ศ.2547 ซึ่งปัจจุบัน BBL เป็นรากฐานของการสร้างนวัตกรรมต่างๆ ของสำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ (องค์การมหาชน)


3.ศิลปศาสตร์ ด้วยหลักของ BBL ที่สมองซีกซ้ายและขวาหรือเรียกได้ว่าสมองช่างคิดและสมองช่างฝันจะทำงานร่วมกันได้มีประสิทธิภาพสูงสุดเมื่อผ่านการปฏิบัติ  3 ด้าน คือ การเคลื่อนไหว ศิลปะและดนตรี  เสถียรธรรมสถานจึงใช้เทคนิคการเรียนรู้โดยใช้ศิลปะและวัตถุดิบรอบตัวมาเปิดประสาทสัมผัสจากการลงมือทำ สังเกตความเคยชินเดิม ที่เป็นอารมณ์และความคิดที่เกิดขึ้นในปัจจุบันขณะ คิดใคร่ครวญหาเหตุและผล สะท้อนการเรียนรู้ในกลุ่มเพื่อส่งเสริมให้เกิด 'ภาวนามยปัญญา' คือปัญญาขั้นสูงสุดอันเกิดจากประสบการณ์ตรงทางจิตของผู้เรียนเองที่ทำให้เห็นได้มากกว่าการเรียนรู้โดยการรับฟังจากวิทยากรหรือการคิดวิเคราะห์จากประสบการณ์ ความคิด ความเชื่อเดิมเท่านั้น กระบวนการเรียนรู้นี้ใช้หลักการของสิปปะภาวนา 

 

ทฤษฏีเกลียวความรู้ (SECI)

ชุดความรู้ชุดนี้ใช้กระบวนการสร้างเกลียวความรู้ ซึ่งเป็นเครื่องมืออย่างหนึ่งในการยกระดับความรู้และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์หรือทำให้วงจรความรู้ได้ถูกใช้งาน หรือส่งผ่านหมุนเวียนเปลี่ยนสภาพและที่อยู่ไปเรื่อยๆ และยังคงหมุนเวียนกลับไปมาอยู่ระหว่างแหล่งความรู้อย่างไม่มีวันสิ้นสุด แหล่งความรู้ทั้งสองแหล่งคือ ความรู้ที่ใช้ในการทำงานและความรู้ที่เกิดจากการทำงานส่วนใหญ่เป็นความรู้ฝังลึก (tacit knowledge) ซึ่งเป็นประสบการณ์ ความเชื่อ ผ่านกระบวนการที่ทำให้เกิดการถ่ายทอดออกมา (codify) เป็นเรื่องเล่า เป็นตัวหนังสือเป็นความรู้ที่มีคุณค่า ความรู้ที่ codify แล้วเราเรียกว่า ความรู้ที่เปิดเผย (explicit knowledge) เป็นความรู้ที่แลกเปลี่ยนกันง่ายและเป็นที่เข้าใจกันโดยทั่วไป


หลักการที่ทำให้เกิดเกลียวความรู้

Socialization คือการจัดให้คนมามีปฏิสัมพันธ์กันในรูปแบบต่างๆ ที่ทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนความรู้ฝังลึก (tacit knowledge) หรือประสบการณ์ วิธีการที่นำมาออกแบบในชุดความรู้นี้คือ การทำให้เกิดการปฏิสัมพันธ์กันใน 4 รูปแบบคือ online, on land, on site และ hybrid 

Externalization กระบวนการสื่อความรู้จากประสบการณ์ในการทำงานออกมาเป็นภาษาพูด หรือภาษาเขียนเท่ากับเป็นการแลกเปลี่ยนความรู้ฝังลึก เป็นความรู้ชัดแจ้ง (explicit knowledge) หรือความรู้ที่ codified knowledge ซึ่งเป็นความรู้ที่สามารถแลกเปลี่ยนกันได้โดยง่าย ผ่านวิธีการด้านเทคโนโลยีสื่อสารและสารสนเทศ 

Combination จากการแลกเปลี่ยนกันผ่านวิธีการด้านเทคโนโลยีสื่อสารและสารสนเทศทำให้ได้ความรู้ที่ชัดเจน กว้างชวางและลึกซึ้งขึ้น

Internalization เป็นกระบวนการสะท้อนกลับความรู้จากความรู้ฝังลึกที่ไปสร้างความสัมพันธ์กับอีกฝ่ายเกิดเป็น ข้อมูลใหม่หรือประสบการณ์ใหม่ เพิ่มเติมเข้ามาในกระบวนการเรียนรู้ การจัดการความรู้ที่ยกระดับเกลียวรู้ขึ้นไปอีกจนทำให้วงจร SECI ดำเนินต่อเนื่องเรื่อยไปไม่มีที่สิ้นสุด


บทสรุปของเกลียวความรู้ 

เกลียวความรู้ (knowledge Spiral) ประกอบไปด้วย 4 ขั้นตอนคือ แลกเปลี่ยน เขียนออกมา ยกระดับ นำไปใช้ ในขั้นตอนแรก คือการแลกเปลี่ยนหมายถึงการแลกเปลี่ยนความรู้ฝังลึกเป็นกระบวนการที่ทำให้เกิดการเรียนรู้ซึ่งกันและกัน ในส่วนของขั้นตอนที่สอง คือการเขียนออกมา เป็นขั้นตอนในการใช้การสื่อสารแปลงความรู้ฝังลึกให้เป็นความรู้ชัดแจ้ง ในขั้นตอนที่สาม คือการยกระดับโดยการรวบรวมความรู้ชัดแจ้งที่เรียนรู้มาสร้างเป็นความรู้ชัดแจ้งใหม่ๆ ในขั้นตอนที่สี่ คือการนำไปใช้เป็นการแปลงความรู้ชัดแจ้งมาเป็นความรู้ฝังลึกในตัวคนแล้วนำความรู้ที่เรียนรู้มาไปใช้งานต่อได้อย่างเข้าใจ

Next page

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

เป้าหมายในการสร้างผู้นำแห่งสติ

 3 กลุ่มทักษะของผู้นำแห่งสติ  ในการสร้างกระบวนการเรียนรู้เพื่อสร้างผู้นำแห่งสติของโครงการขับเคลื่อนครอบครัวอบอุ่นด้วยสติในองค์กรมุ่งการพัฒนาทักษะพื้นฐานในการใช้ชีวิตและการทำงาน (Skills for Life) 3 ด้าน ได้แก่ 1. ทักษะการดำรงชีวิตประจำวัน (Daily Life Skills) เป็นทักษะในการดูแลตนเองทางด้านการกิน นอน พักผ่อน ความปลอดภัย และการเงิน  2. ทักษะชีวิต (Life Skills) เป็นทักษะในการอยู่ร่วมกันด้วยสติ ได้แก่ การตระหนักรู้ (Awareness)  การเห็นอกเห็นใจ (Empathy) ความร่วมมือ (Collaboration) การโน้มน้าวใจ (Communication) ความคิดสร้างสรรค์ (Creativity) การปรับตัว (Adaptation) และการบริหารเวลา (Time Management)  3. ทักษะความรอบรู้ (Literacy Skills) เป็นทักษะเพื่อการอยู่กับโลกที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ได้แก่ ทักษะความรอบรู้ด้านสื่อ (Media Literacy) และความรอบรู้ด้านสุขภาพ (Health Literacy) 3 คุณสมบัติของผู้นำแห่งสติ  ผู้นำแห่งสติ หมายถึง ผู้ที่สามารถพาตนให้รอดพ้นจากความทุกข์ได้ และเป็นแรงบันดาลใจให้แก่ผู้อื่นได้ ซึ่งท่านแม่ชีศันสนีย์ เสถียรสุต ได้ชักชวนผู้คนทุกเพศวัยให้เข้ามาฝึกตนให้มีคุณสมบัติ 3 ข้อนี้

โปรแกรมครอบครัวแห่งสติ สร้างลูก สร้างโลก

 โปรแกรม ครอบครัวแห่งสติสร้างลูกสร้างโลก   โปรแกรมครอบครัวแห่งสติสร้าางลูกสร้างโลก เป็นโปรแกรมที่ประกอบด้วยหลักสูตรย่อยทั้งรูปแบบ on land  online, on site และ hybrid เพื่อการออกแบบชีวิตที่อยู่ดีมีสุขด้วยสติ (Mindful Wellness Lifestyle) สำหรับกลุ่มเป้าหมายที่มีลูกตั้งแต่ตั้งครรภ์จนถึงลูกอายุ 14  ปี ที่เรียกว่า 'กลุ่มสร้างลูก'   เนื้อหาของหลักสูตร ภายในโปรแกรมออกแบบขึ้นเพื่อตอบโจทย์ชีวิตคนที่มีลูกที่ต้องการเตรียมตัวทั้งตนเองและลูกให้เกิดภูมิคุ้มกันชีวิต จนสามารถสร้างชีวิตที่มีไลฟ์สไตล์แบบมีสุขภาวะดีทั้ง กาย ใจ จิตวิญญาณ (Wellness Lifestyle) โดยชวนให้เตรียมตัวเองล่วงหน้าให้มีไลฟ์สไตล์แบบพึ่งตัวเองได้ทั้งกาย ใจ และเศรษฐกิจ มีความพร้อมในการดูแลสมาชิกครอบครัวและเป็นผู้ให้ในบทบาทของพ่อแม่และคนทำงานในองค์กร สามารถเป็นที่พึ่งทางใจ ให้สติ และชี้แนะแนวทางแก้ปัญหาชีวิตอย่างมีสติ ให้แก่กับลูก คนในครอบครัว เพื่อนในที่ทำงานได้ และเป็นเครื่องมือในการดำเนินชีวิตให้ผ่านยุคดิสรัปชั่นจากวิกฤติโควิด-19 เข้าสู่สังคมยุค New Normal-Now Normal ได้อย่างมีความสุข วิทยากรจิตอาสา ที่มาร่วมพัฒนาโปรแกร